activity,  การบริการวิชาการ,  การเรียนการสอน,  กิจกรรมนักศึกษา

นำองค์สู่ชุมชน “รู้เท่าทันสื่อ”

pageนิเทศศาสตร์ราชภัฏเชียงใหม่ นำองค์สู่ชุมชนรู้เท่าทันสื่อ

           การแข่งขันทางการตลาดของผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสมาร์ทโฟนมีและราคาของค่าบริการอินเตอร์เน็ตที่ลดลง ทำให้มีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟสบุ๊ค (Facebook) ไลน์ (Line) ทวิตเตอร์ (Twitter) อินสตราแกรม (Instragram) เพิ่มมากขึ้น กลุ่มผู้ใช้งานมีความหลากหลายอาชีพและช่วงอายุ สังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเข้าถึงโลกของสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อสื่อสารกับลูกหลานหรือ คนกลุ่มต่างๆกลายเป็นความจำเป็น ซึ่งการที่จะใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ 1. การสร้างสรรค์ข่าวสารให้น่าสนใจ 2.การใช้ภาพถ่ายที่สามารถดึงดูดผู้พบเห็น รวมไปถึงเทคนิคต่างๆที่จะทำให้เนื้อหา (Content) ที่ถูกสร้างสรรค์เหล่านั้นไม่ขัดต่อกฎหมายหรือหลักจริยธรรมทางสังคม ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จึงได้จัดโครงการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ พระเณร และเด็กเล็กในชุมชนวัดป่าแพ่ง ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่

           สำหรับแนวคิดของโครงการดังกล่าวนี้ อาจารย์กมลวรรธ สุจริต อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเผยว่าได้ใช้วิธีการสอดแทรกความรู้ผ่านการอบรมและทำกิจกรรมการร่วมกันระหว่างนักศึกษานิเทศศาสตร์ ที่ผ่านการเรียนในรายวิชา CA 2102 หลักและศิลปะการถ่ายภาพเพื่องานนิเทศศาสตร์ และ รายวิชา CA 2301 การเขียนสร้างสรรค์เชิงวารสารสนเทศ เนื่องจากเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร การสื่อความหมายด้วยภาพถ่าย ทั้งภาพถ่ายบอกเล่าเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการการสร้างสรรค์เนื้อหาข่าวสาร การวิเคราะห์ผู้รับสาร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าอบรมในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างมีความรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง ต่อหน่วยงานองค์กรและต่อสังคมทั้งในทางกฎหมาย และทางจริยธรรม เป็นการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อในบริบทของสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นปริมณฑลของสื่อในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความเป็นชุมชน มีกลุ่มคนที่ช่วงอายุหลากหลาย ทั้งเด็กเล็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในสังคม คนเหล่านี้จะเกิดความภาคภูมิใจในฐานะที่เป็น “เจ้าของ” ภาพถ่าย/เนื้อหาสาร( Content) ที่เขาสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ด้วยตนเอง และนั่นจะทำให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของ “ลิขสิทธิ์” และการเผยแพร่งานของตนเองหรือผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ

CR.AJ.Khamolwat Sujarit
ดูภาพเพิ่มเติม : แฟ้มภาพ